วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2563


บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ผลการดำเนินงานโครงการ Coaching  Teams 
เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์ 

๑.  บทนำ
กระทรวงศึกษาธิการเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมนานาประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาให้เยาวชน ประชาชน  มีความรู้ มีคุณภาพ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ ที่จะดำเนินการเพื่อพัฒนากำลังคนซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ             แต่ปรากฏว่ายังคงมีปัญหาบางประการในการจัดการการศึกษาของประเทศในส่วนภูมิภาค ทั้งในด้านโครงสร้างขององค์การ ด้านระบบบริหารจัดการ และด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาเยาวชน และเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนและการพัฒนาด้านการศึกษาของประเทศให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมนานาประเทศ แม้ที่ผ่านมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาด้วยการกำหนดมาตรการและกลไกต่าง ๆ ขึ้น โดยมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมาแล้วหลายฉบับ แต่โดยเหตุที่สภาพปัญหาการจัดการการศึกษาของประเทศในส่วนภูมิภาคมีความซับซ้อนและสั่งสมเป็นเวลานาน รัฐบาลจึงได้มีการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการขึ้น เพื่อกำหนดมาตรการและกลไกเพิ่มเติมให้ปัญหาโดยส่วนใหญ่ได้รับการแก้ไขโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ในการเตรียมการและรองรับการปฏิรูปการศึกษาอันเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในการปฏิรูปประเทศตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติไว้
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560 โดยมีหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์และบทบาทการพัฒนาภาคต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ กำหนดทิศทางการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด แปลงยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติในระดับภาคและจังหวัดที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และการพัฒนาด้านอื่น ๆ ตามศักยภาพและโอกาสของบุคคลและชุมชนในแต่ละพื้นที่ ส่งเสริมสนับสนุนการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมการศึกษาระดับภาค กำกับดูแล เร่งรัด นิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนางานวิชาการและการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ และที่สำคัญ คือ มีหน้าที่กำกับดูแล เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ  เพื่อให้ภารกิจสำคัญในการกำกับดูแล เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อการบริหารการจัดการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการและบริบทของพื้นที่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดให้มีโครงการ “Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา” ขึ้น เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของหน่วยงานทางการศึกษาให้ตรงกับบริบทของพื้นที่ ตรงกับผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและความต้องการของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้การนิเทศ ติดตามและประเมินผล สามารถเป็นกลไกกระตุ้นให้หน่วยงานทางการศึกษา บริหารจัดการศึกษา รวมทั้งแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพของผู้เรียน ให้เกิดผลลัพธ์ต่อคุณภาพของผู้เรียนที่สูงขึ้น ให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม เป็นผู้มีองค์ความรู้ตามศักยภาพและเป็นคนดีของสังคม 
ดังนั้น เพื่อให้ภารกิจสำคัญในการกำกับดูแล เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อการบริหารการจัดการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการและบริบทของพื้นที่ กลุ่มนิเทศ  ติดตามและประเมินผลสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้จัดทำโครงการ  Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์” ขึ้น เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของหน่วยงานทางการศึกษาให้ตรงกับผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและความต้องการของพื้นที่ เพื่อให้การนิเทศ ติดตามและประเมินผล สามารถเป็นกลไกกระตุ้นให้หน่วยงานทางการศึกษา บริหารจัดการศึกษา รวมทั้งแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพของผู้เรียน ให้เกิดผลลัพธ์ต่อคุณภาพของผู้เรียนที่สูงขึ้น ให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม เป็นผู้มีองค์ความรู้ตามศักยภาพและเป็นคนดีของสังคม 

๒.  วัตถุประสงค์
๒.๑  เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีความสอดคล้องเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่
๒.๒  เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการ     จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาการศึกษาและยกระดับคุณภาพของผู้เรียน
3.  เป้าหมาย
3.1 เชิงปริมาณ
      1) มีรูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน               ที่สอดคล้องเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ของจังหวัดบุรีรัมย์ 
      2) มี Coaching Teams ทำหน้าที่นิเทศ  ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของจังหวัดบุรีรัมย์
     3) มีเอกสารผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของจังหวัดบุรีรัมย์ที่สอดคล้องเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ เพื่อเสนอผู้บริหารของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ กระทรวงศึกษาธิการ และเผยแพร่แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.2 เชิงคุณภาพ
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ มีรูปแบบและเครือข่ายความร่วมมือในการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีความสอดคล้องเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการศึกษาและยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
4.  กลุ่มเป้าหมาย  
ศึกษานิเทศก์ ผู้แทนหน่วยงานทางการศึกษา ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน ในจังหวัดบุรีรัมย์

5. ตัวชี้วัดเป้าหมาย และตัวชี้วัดผลลัพธ์

ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
1. จังหวัดบุรีรัมย์มีรูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่
อย่างน้อย 1 แนวทาง
2. มี Coaching Teams  ของจังหวัดบุรีรัมย์  เพื่อการบูรณาการด้านการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1 ทีม
. สถานศึกษานำร่องได้รับการนิเทศ ติดตามและประเมินผลตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น
โรงเรียนนำร่อง
๔. ร้อยละของนักเรียนที่คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในแต่ละวิชา ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไป เพิ่มขึ้น 
ร้อยละของนักเรียน
ที่มีคะแนน O-NET
มากกว่าร้อยละ 50
เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

๖. ผลการดำเนินการ

กิจกรรมที่ 1
ประชุมชี้แจงโครงการและระดมความคิดเห็นรูปแบบการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อชี้แจงโครงการ  ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ เป้าหมาย งบประมาณในการดำเนินการตามโครงการ
๒. ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการ  Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
กลุ่มเป้าหมาย
ศึกษานิเทศก์ (ศธจ. สพป. สพม. อปท. และบุคลากร อศจ. ในจังหวัดบุรีรัมย์  รวมจำนวน  ๖๐  คน
ระยะเวลาและสถานที่
๑ วัน
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการ/ขั้นตอน
๑. จัดประชุม ชี้แจงโครงการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายการดำเนินการ
๓. ศึกษาบริบทและข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
๔. ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการ  Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
ผลผลิต
๑. เกิดความตระหนักในการทำงานร่วมกัน
๒. ได้ทราบบริบทและข้อมูลพื้นฐานของผลการจัดการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
๓. ได้ร่างรูปแบบการ  Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา           ของจังหวัดบุรีรัมย์




กิจกรรมที่ ๒
แต่งตั้ง Coaching Teams ของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีองค์ประกอบจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ ได้แก่ ศธภ., ศธจ. สพป., สพม., อปท., คณาจารย์หรือนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย/วิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมทั้งผู้แทนจากสถานศึกษา ชุมชน และผู้แทนภาคเอกชนในพื้นที่
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาการศึกษาและยกระดับคุณภาพของผู้เรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ศึกษานิเทศก์ ศธภ., ศธจ., สพป., สพม., อปท., คณาจารย์หรือนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย/วิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมทั้งผู้แทนจากสถานศึกษา ชุมชน และผู้แทนภาคเอกชนในพื้นที่ในจังหวัดบุรีรัมย์ 
วิธีการ/ขั้นตอน
๑. ติดต่อ ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
๒. จัดทำคำสั่งเสนอศึกษาธิการจังหวัดลงนาม
๓. แจ้งผู้เกี่ยวข้อง
ผลผลิต
๑. ได้คำสั่งแต่งตั้ง Coaching Teams ของจังหวัดบุรีรัมย์
๒. ได้เครือข่ายความร่วมมือในการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาการศึกษาและยกระดับคุณภาพของผู้เรียน



กิจกรรมที่ ๓
คัดเลือกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากทุกสังกัด ที่มีร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนน O-NET ในแต่ละวิชา ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไป อยู่ในระดับต่ำ และมีความสมัครใจจะเข้าร่วมเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ
วัตถุประสงค์
เพื่อคัดเลือกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานนำร่อง มีร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนน O-NET ในแต่ละวิชา ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไป อยู่ในระดับต่ำ และมีความสมัครใจจะเข้าร่วมเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ
กลุ่มเป้าหมาย
โรงเรียนในสังกัด  สพป. สพม. อปท. และ เอกชน 
วิธีการ/ขั้นตอน
๑. ประชาสัมพันธ์โครงการ
๒. คัดเลือกโรงเรียนนำร่อง
๓. แจ้งผู้เกี่ยวข้อง
ผลผลิต
ได้โรงเรียนนำร่องโครงการ ฯ  จำนวน    โรงเรียน แบ่งเป็น  สังกัด สพป. จำนวน ๘  โรงเรียน และ สังกัด สพม. จำนวน    โรงเรียน

กิจกรรมที่ ๔
จัดทำฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์
เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
กลุ่มเป้าหมาย
ศึกษานิเทศก์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์  ๒๔ คน และผู้อำนวยการและครูผู้สอนโรงเรียนนำร่องจำนวน    โรงเรียน (โรงเรียนวัดบ้านสวายสอ, โรงเรียนวัดบ้านไทร, โรงเรียนบ้านแพงพวย, โรงเรียนบ้านหนองไทร, โรงเรียนบ้านสระขุด, โรงเรียนบ้านป่าไม้สหกรณ์, โรงเรียนบ้านหนองติ้ว, โรงเรียนบ้านทุ่งวัง, โรงเรียนพุทไธสง)
ระยะเวลาและสถานที่
๒ วัน
ห้องประชุมรวมใจเอกชน  สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการ/ขั้นตอน
๑. ประชุมผู้บริหารและครูโรงเรียนนำร่อง   แห่ง ๆ ละ  ๒ คนและศึกษานิเทศก์  ๒๔  คน  รวม  ๔๒  คน
๒. สร้างเครื่องมือและออกแบบระบบจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ในการใช้วางแผนการดำเนินงาน 
๓. ใช้เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ ใน Google Drive  เพื่อให้สมาชิกได้รับทราบ และใช้ข้อมูลร่วมกัน
ผลผลิต
๑. ได้ฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
๒. ได้เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรมที่ ๕
ประชุมสัมมนาและศึกษาดูงานการยกระดับคุณภาพการศึกษา
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อประชุมสัมมนาการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการ Coach เพื่อยกระดับยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบท
๒. เพื่อพัฒนาผู้บริหาร/ครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา/ความต้องการและสามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัยมาใช้แก้ปัญหา
๓. เพื่อศึกษาดูงานแนวทางการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
กลุ่มเป้าหมาย
ศึกษานิเทศก์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ๓๑ คน ผู้อำนวยการและครูโรงเรียนนำร่อง  ๑๘ คน  บุคลากรอาชีวศึกษาที่เป็นเครือข่าย    คน  รวม  ๕๙  คน
ระยะเวลาและสถานที่
  วัน
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี และวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี
วิธีการ/ขั้นตอน
๑. จัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ                      การยกระดับคุณภาพการศึกษา
๒.  ศึกษาดูงานสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี และวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี
ผลผลิต
๑. บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการ Coach เพื่อยกระดับยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบท
๒. ผู้บริหาร/ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา/ความต้องการสามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัยมาใช้แก้ปัญหา
๓. ได้ความรู้ประสบการณ์มาปรับประยุกต์ใช้ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์
























กิจกรรมที่ ๖
สร้างและพัฒนารูปแบบการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์









๒. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
กลุ่มเป้าหมาย
ศึกษานิเทศก์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด  ศึกษานิเทศก์จากเขตพื้นที่ 
ที่ปรึกษาโครงการ  รวม  ๓๕  คน
ระยะเวลาและสถานที่
  วัน
ห้องประชุมรวมใจเอกชน  สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการ/ขั้นตอน


๑. ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ  โดยการผลการศึกษาและแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์                                                          ๒. จัดทำร่างรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
ผลผลิต
๑. ได้ข้อมูลสภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการในการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
๒. ได้ร่างรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์ CORES Model  มีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพการศึกษา ใน ๓ ด้าน ได้แก่  ด้านทักษะการเรียนรู้ 
ด้านทักษะชีวิต  และด้านทักษะอาชีพ

ภาพกิจกรรม
















กิจกรรมที่ ๗

นิเทศ ติดตาม และประเมินผล
วัตถุประสงค์
เพื่อนิเทศ ติดตาม และประเมินผลโดยใช้กระบวนการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
กลุ่มเป้าหมาย
โรงเรียนนำร่อง  จำนวน   แห่ง
ระยะเวลาและสถานที่
เดือน กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๖๑ สถาบันอาชีวศึกษาของรัฐทั้ง ๘ แห่ง
สถานศึกษาอาชีวศึกษาและโรงเรียนสังกัด สพฐ.
วิธีการ/ขั้นตอน
๑. ออกแบบเครื่องมือในการนิเทศ ติดตาม โดยใช้กระบวนการ Coaching Teams             เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
๒. แบ่งทีมนิเทศออกเป็น  ๓ ทีม  ได้แก่  ทีมนิเทศด้านทักษะการเรียนรู้  ด้านทักษะชีวิตและด้านทักษะอาชีพ
๓. นิเทศ ติดตาม และประเมินผลโดยใช้กระบวนการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
๔. สรุปผล และรายงานผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผลโดยใช้กระบวนการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
ผลผลิต
โรงเรียนนำร่อง ๙ แห่ง ได้รับการพัฒนาโดยใช้กระบวนการ Coaching Teams             เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
๑.  ด้านทักษะการเรียนรู้  (Knowledge Skills)
          ๑.๑  โรงเรียนมีรูปแบบ/แนวทาง/งาน/โครงการเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาทักษะการเรียนรู้
          ๑.๒  ครูออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำและใช้กระบวนการคิดในสิ่งที่ได้ลงมือทำ  (Active  Learning)  เพิ่มขึ้น
          ๑.๓  ผู้เรียนมีมาตรฐานการเรียนรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร
          ๑.๔  ร้อยละจำนวนผู้เรียนมีผลการทดสอบ  O-NET  ปีการศึกษา  ๒๕๖๒  ผ่านเกณฑ์ร้อยละ  ๕๐  ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  และภาษาอังกฤษ  เพิ่มขึ้น
๒.  ด้านทักษะชีวิต  (Life Skills)
          ๒.๑  โรงเรียนมีรูปแบบ/แนวทาง/งาน/โครงการเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาทักษะชีวิต
          ๒.๒  ครูพัฒนาทักษะชีวิตตามแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต    องค์ประกอบของ  สพฐ. โดยการออกแบบและจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
          ๒.๓  ผู้เรียนมีทักษะชีวิตตามองค์ประกอบทั้ง    องค์ประกอบ
                   ๒.๓.๑  การจัดการกับอารมณ์และความเครียด
                   ๒.๓.๒  การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
                   ๒.๓.๓  การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
                   ๒.๓.๔  การคิดวิเคราะห์ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
๓.  ด้านทักษะอาชีพ  (Vocation Skills)
          ๑.๑  โรงเรียนมีรูปแบบ/แนวทาง/งาน/โครงการเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาทักษะอาชีพ
          ๑.๒  ครูออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะจำเป็นต่อการประกอmmบอาชีพ
          ๑.๓  ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานทางอาชีพที่จำเป็นในการประกอบอาชีพในอนาคต
          ๑.๔  ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาต่อในสายวิชาชีพ
ภาพกิจกรรม


กิจกรรมที่ ๘
จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ และนำเสนอผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อจัดทำสรุปรายงานการพัฒนาโดยใช้กระบวนการ Coaching Teams             เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
๒.เพื่อจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ผลการพัฒนาโดยใช้กระบวนการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้อำนวยการและบุคลากรจากโรงเรียนนำร่อง และศึกษานิเทศก์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์  ๒๐  คน
ระยะเวลาและสถานที่
  วัน
โรงแรมสีมาธานี  จังหวัดนครราชสีมา
วิธีการ/ขั้นตอน
๑. นำเสนอรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการให้ผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด  สำนักงานศึกษาธิการภาค  14  และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการทราบ
๒. จัดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับองค์ภาครัฐ  ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม
๓. เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน 
ผลผลิต
๑. ได้รายงานผลการดำเนินโครงการ
๒. ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์ภาครัฐ  ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม 
๓. ผลงานได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชน 

















๗. ปัญหา/อุปสรรค
๗.๑ ขาดระบบการรับ-ส่งหนังสือราชการ  ระบบสารบรรณเพื่อประสานงานการติดต่อรับขส่งหนังสือราชการไม่สะดวก
๗.๒ การเปลี่ยนแปลงผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนบ่อยครั้ง ทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในการดำเนินการ
๗.๓ ผู้นิเทศมาจากหลายกำหนดปฏิทินแล้วหน่วยงานต้นสังกัดมีภารกิจเร่งด่วน เวลาว่างที่จะออกนิเทศไม่ตรงกัน
๗.๔ การขาดความรู้ความเข้าใจในบริบทที่จะไปทำการนิเทศ  การดำเนินงานและการจัดการศึกษา  ระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ
๗.๕ ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการยังไม่สมบูรณ์
๗.๖ งบประมาณในการพัฒนาโรงเรียนนำร่อง ฯ ยังไม่เพียงพอ  ส่งผลต่อการพัฒนาไม่ครอบคลุมสถานศึกษาทั้งจังหวัด

๘. แนวทางการพัฒนา
๘.๑ การจัดทำระบบสารบรรณกลางเพื่อประสานงานการรับส่งหนังสือราชการ  ระหว่าง 
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์  และหน่วยงานทางการศึกษาให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๘.๒ จัดประชุมร่วมกันเพื่อสร้างความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและการจัด
การศึกษาของสถานศึกษา  และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาร่วมกัน
๘.๓ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อจัดทำฐานข้อมูล  และกำหนดขอบเขตของข้อมูล
สารสนเทศที่ต้องการ
๘.๔ การระดมทรัพยากรและขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาสถานศึกษาในเครือข่าย
สถานศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด

๙. ผลการศึกษาสร้างและพัฒนารูปแบบกระบวนการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้  CORES  Model 
           ๙.๑ การสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีความสอดคล้องเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่
              จากการศึกษาหลักการ  แนวคิดทฤษฎี นโยบาย  ยุทธศาสตร์ชาติ  บริบทของจังหวัดบุรีรัมย์ ระดมความคิดเห็นและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รูปแบบการใช้กระบวนการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้ CORES  Model  ซึ่งมีรายละเอียด  ดังนี้


















             
              ภาพประกอบ ๑ รูปแบบการใช้กระบวนการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์

              ๙.๑.๑ Cooperation – Networking & Context Analyzing สร้างทีมและเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินการ  Coach  รวมทั้งการวิเคราะห์บริบททางการศึกษาภายในจังหวัดเพื่อเป็นสารสนเทศในการดำเนินงานและทำความเข้าใจกับทีมงานและเครือข่าย
              ๙.๑.๒  Orientation  สร้างความเข้าใจในการดำเนินงาน  กำหนดเป้าหมาย  เรียนรู้แลกเปลี่ยนในการกำหนดรูปแบบในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
             ๙.๑.๓  Research  ใช้รูปแบบของการวิจัยในการดำเนินงาน  (Reach Theme) โดยกำหนดวัตถุประสงค์รูปแบบการดำเนินงาน  การสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล  การสังเคราะห์และรายงานผล
             ๙.๑.๔  Evaluation  ประเมินผลภาพรวมของการดำเนินงานโดยร่วมงานกับทีม  Coach  และเครือข่ายร่วมเรียนรู้ในระดับพื้นที่ (สถานศึกษา)  ระดับจังหวัดโดยการสะท้อนผล  การสนทนากลุ่ม  การสอบถาม  สัมภาษณ์  และแบบสอบถาม
             ๙.๑.๕  Sharing  สัมมนาทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับจังหวัดและระดับภาค  โดยทีม  Coach  เครือข่ายที่อยู่ในโครงการ  หน่วยงานระดับจังหวัด  ระดับภาคและระดับประเทศ  รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่าง ๆ
          ๙.2  การสร้างเครือข่ายการนิเทศ ติดตามและประเมินผล  โดยการใช้กระบวนการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์ 
              เครือข่าย Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วยศึกษานิเทศก์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์  เขต  1 – 4  สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษามัธยมศึกษา  เขต  32  บุคลากรจากสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งเป็นเครือข่ายร่วมพัฒนากับโรงเรียนนำร่องของโครงการ ฯ จำนวน  9  โรงเรียน

โรงเรียนนำร่อง
สถานศึกษาอาชีวศึกษาร่วมพัฒนา
โรงเรียนวัดบ้านสวายสอ 
สพป. บุรีรัมย์ เขต ๑
วิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์
อ. เมือง  จ. บุรีรัมย์
โรงเรียนวัดบ้านไทร (เสคุรุราษฎร์อนุสรณ์) 
สพป. บุรีรัมย์ เขต ๒
วิทยาลัยการอาชีพประโคนชัย
อ. ประโคนชัย  จ. บุรีรัมย์
โรงเรียนบ้านแพงพวย (สังฆคุรุราษฎร์บำรุง)  สพป. บุรีรัมย์ เขต  3
วิทยาลัยเทคนิคนางรอง
อ. นางรอง  จ. บุรีรัมย์
โรงเรียนบ้านหนองไทร (ปัญจคามคุรุสรรค์)
สพป. บุรีรัมย์  เขต  3
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์
อ. เมือง  จ. บุรีรัมย์
โรงเรียนบ้านสระขุด
สพป. บุรีรัมย์  เขต  3
วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการบุรีรัมย์
อ. หนองกี่  จ. บุรีรัมย์
โรงเรียนบ้านป่าไม้สหกรณ์
สพป. บุรีรัมย์  เขต  3
วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการโนนดินแดง
อ. โนนดินแดง  จ. บุรีรัมย์
โรงเรียนบ้านหนองติ้ว
สพป. บุรีรัมย์  เขต  4
วิทยาลัยเทคนิคคูเมือง
อ. คูเมือง  จ. บุรีรัมย์
โรงเรียนบ้านทุ่งวัง
สพป. บุรีรัมย์  เขต  4
วิทยาลัยการอาชีพสตึก
อ. สตึก  จ. บุรีรัมย์
โรงเรียนพุทไธสง
สพป. บุรีรัมย์  เขต  32
วิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์
อ. เมือง  จ. บุรีรัมย์

        ๙.๓ การศึกษาความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ Coaching Teams  เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
             ๙.๓.๑  การศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารต่อการดำเนินงานโครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
                    ผลการศึกษา  พบว่า  ผู้บริหารสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า
                   ๑)  ผู้บริหารสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบ/กระบวนการนิเทศ ติดตามและประเมินผลภายใต้โครงการ  Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก
                   ๒)  ผู้บริหารสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อบุคลากรผู้ให้การนิเทศ ติดตามและประเมินผลภายใต้โครงการ  Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก 
                    ๓)  ผู้บริหารสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกภายใต้โครงการ  Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก
                    ๔)  ผู้บริหารสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อคุณภาพ/ผลลัพธ์ของการนิเทศ  ติดตามและประเมินผลภายใต้โครงการ  Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก
             ๙.๓.๒  การศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินงานโครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
                   ผลการศึกษา  พบว่า  ครูมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า
                   ๑)  ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบ/กระบวนการนิเทศ ติดตามและประเมินผลภายใต้โครงการ  Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก
                   ๒)  ครูมีความพึงพอใจต่อบุคลากรผู้ให้การนิเทศ ติดตามและประเมินผลภายใต้โครงการ  Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก 
                    ๓)  ครูมีความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวกภายใต้โครงการ  Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก
                    ๔)  ครูมีความพึงพอใจต่อคุณภาพ/ผลลัพธ์ของการนิเทศ  ติดตามและประเมินผลภายใต้โครงการ  Coaching Teams  เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ใน                  ระดับมาก
             ๙.๓.๓ การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินงานโครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์
                   ผลการศึกษา  พบว่า  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า
                     ๑)  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ภายใต้โครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก 
                     ๒)  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อครูผู้สอน  ภายใต้โครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก 
                      )  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการเรียนการสอน  ภายใต้โครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก 
                      ๔)  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการเรียนรู้  ภายใต้โครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก 

๑๐. ข้อเสนอแนะ
        จากผลการศึกษารูปแบบการใช้กระบวนการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
          ๑๐.๑ ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้
๑๐.1.1 ควรนำผลการศึกษารูปแบบการใช้กระบวนการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์ไปพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
๑๐.1.2 ควรนำผลการการศึกษารูปแบบ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  ในส่วนของการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
๑๐.1.3 ควรนำผลการศึกษารูปแบบ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์ในการนิเทศ  ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียนเพื่อให้การนิเทศติดตาม และการนิเทศภายในของโรงเรียน มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๑๐.2. ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป
    ๑๐.2.1 ควรมีการสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดบุรีรัมย์  ที่สอดคล้องต่อความต้องการของนักเรียนและบริบทให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัด
    ๑๐.2.2 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการนิเทศ ติดตามและประเมินผลเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในจังหวัดบุรีรัมย์